63937 จำนวนผู้เข้าชม |
แคลมป์ (Clamp) หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ยึดของสองสิ่งเข้าด้วยกัน ด้วยแรงบีบเข้าหรือดันออก เพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหว เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น และต่างจาก ปากกาจับชิ้นงาน (Vise/Vice) ที่ใช้ในการยึดจับชิ้นงานไว้กับโต๊ะ
ซึ่งแคลมป์มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับรูป แบบการใช้งาน และประสิทธิภาพ ใช้งานยาก-ง่าย แบ่งออกเป็นประเภท ดังต่อไปนี้
สปริงแคลมป์ (Spring Clamp)
เป็นแคลมป์ที่ใช้งานค่อนข้างง่าย ลักษณะคล้ายไม้หนีบที่มีสปริงตัวใหญ่อยู่ภายใน มีข้อเสียที่ไม่สามารถกำหนดแรงหนีบจับชิ้นงานได้ ขึ้นอยู่กับความแข็งของสปริงเท่านั้น
สปริงแคลมป์ระบบเฟือง (Ratcheting Spring Clamp)
เป็นสปริงแคลมป์ที่ตัวสปริงจะแข็งน้อยกว่า และมีระบบเฟือง ช่วยป้องกันไม่ให้แคลมป์กางออกจนกว่าจะปลดล็อคกลไกช่วยให้เบาแรงและใช้ง่ายกว่า สามารถกำหนดแรงบีบจับชิ้นงาน ได้ตามแรงมือ
แคลมป์ไม้ (Hand Screw Clamp/Wooden Clamp)
เป็นแคลมป์ที่มีหน้าสัมผัสกว้าง กระจายแรงในการจับได้ สม่ำเสมอ สามารถจับชิ้นงานได้หลายมุม มักมีขนาดใหญ่ และแขนจับไม่จำเป็นต้องขนานกันเสมอไป
ซีแคลมป์ (C-Clamp)
แคลมป์ที่มีโครงเป็นรูปตัวซี ใช้ระบบมือหมุนเกลียวในการสร้างแรงบีบ ควรตรวจสอบผิวหน้าที่สัมผัสชิ้นงานว่าผลิตมาเรียบ ไม่มีรอยครีบหรือรอยต่อแม่พิมพ์ ซึ่งอาจทำให้ชิ้นงานเป็นรอย เสียหายได้
ควิกซีแคลมป์/บาร์แคลมป์ (Quick C-Clamp/Bar Clamp)
ซีแคลมป์ที่เพิ่มปุ่มกดเพื่อเลื่อนปรับขนาดได้ง่ายและเร็วขึ้นโดยไม่ต้องค่อยๆ หมุนเกลียว แต่ทำให้ลดทอนความแข็งแรงจากซีแคลมป์ดั้งเดิมลงไป
เอฟแคลมป์ (F-Clamp)
แคลมป์ที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอฟ โดยแขนข้างหนึ่งสามารถ เลื่อนไปมาได้ ขณะที่อีกข้างยึดติดอยู่กับที่ สามารถเลื่อนปรับ ขนาดได้อย่างรวดเร็ว ใช้ได้กับวัตถุขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่
สปีดแคลมป์/ควิกแคลมป์ (Speed Clamp/Quick Clamp)
มีลักษณะแขนคล้ายเอฟแคล้ม แต่เพิ่มความเร็วในการใช้งานจากระบบหมุนเกลียว เป็นการบีบไกเพื่อเพิ่มแรงบีบเรื่อยๆ และมีปุ่มหรือไกสำหรับคลายออก
แคนท์ทวิสท์แคลมป์ (Kant-Twist clamp)
มักใช้ในงานเหล็กและงานอุตสาหกรรม ออกแบบมาเพื่อ ให้แรงบีบมหาศาลกว่าซีแคลมป์ ส่วนที่สัมผัสชิ้นงานทำจากทอง แดง แต่ใช้งานได้ค่อนข้างช้าเพราะเป็นระบบเกลียวมือหมุน
แคลมป์ท่อ (Pipe Clamp)
เป็นแคลมป์ที่จับชิ้นงานได้หลากหลายขนาดที่สุด เพราะสามารถเลือกความยาวของแคลมป์ได้ด้วยการเลือกความยาวของท่อ แต่มีข้อเสียตรงส่วนพื้นที่สัมผัสชิ้นงานน้อย
แคลมป์อัดไม้/ปากกาอัดไม้ (T Bar Clamp/I Bar Clamp)
แคลมป์ที่แขนค่อนข้างสั้น ใช้ในประกอบชิ้นงานโดยจะวางแคลมป์ไว้บนพื้นหรือบโต๊ะ แล้ววางชิ้นงานไว้บนแคลมป์ เพราะตัวแคลมป์มีน้ำหนักมาก
แคลมป์ขนาน (Parallel Clamp)
สามารถปรับขนาดระหว่างแขนได้ง่าย มีพื้นที่สัมผัสชิ้นงานมากและทำมุม 90° กับแกน เหมาะกับงานประกอบชิ้นงานที่ ต้องการความเที่ยงตรงสูงได้ดี แต่ไม่เหมาะกับการใช้ยึดจับชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก
แคลมป์เข้ามุม (Mitre Clamp)
ใช้ในการประกอบงานเข้ามุมโดยเฉพาะ ทำให้การเข้ามุมเป็นเรื่องง่าย แต่สามารถทำได้เฉพาะมุม 90° เท่านั้น
แคลมป์สายรัด (Band Clamp)
เป็นแคลมป์ที่ใช้แรงดึงจากเชือกในการรัดชิ้นงานให้ติดกันโดยมีแผ่นรองรับมุมต่างๆ บนชิ้นงาน สามารถใช้กับมุมที่ไม่ใช่ 90° มีความยืดหยุ่นสูง
แคลมป์นก (Toggle Clamp)
แคลมป์สำหรับการยึดชิ้นงานให้ติดกับโต๊ะหรือจิ๊กด้วยสกรูนิยมใช้ในขั้นตอนการขึ้นรูปงาน
รวบรวมและเรียบเรียงโดย ทีมงาน TPQ TOOLS